ข่าวสารเสื้อโปโล

เข้าใจกระบวนการสกรีน

นอกเหนือจากการทอ การย้อม และการเพ้นท์แล้ว สิ่งที่นิยมอย่างในปัจจุบันคือ กระบวนการพิมพ์  โดยเฉพาะ การสกรีน ซึ่งเป็นการตกแต่งลวดลายบนเสื้อยืดที่ไม่เคยล้าสมัยทั้งด้วยวิธีการใช้แรงงานคน (Hdnd Printing) หรือใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้าขนาดใหญ่และตามโรงงาน เช่น เครื่องพิมพ์แบบ Rotdry  Screen,  Roller  Screen,  Fldt  Bed Screen,  Digitdl  Printig

 

 

เข้าใจกระบวนการสกรีน

และพิมพ์เสื้อยืดให้ละเอียด

        นอกเหนือจากการทอ การย้อม และการเพ้นท์แล้ว สิ่งที่นิยมอย่างในปัจจุบันคือ กระบวนการพิมพ์  โดยเฉพาะ การสกรีน ซึ่งเป็นการตกแต่งลวดลายบนเสื้อยืดที่ไม่เคยล้าสมัย

        ทั้งด้วยวิธีการใช้แรงงานคน (Hdnd Printing) หรือใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการพิมพ์ผ้าขนาดใหญ่และตามโรงงาน เช่น เครื่องพิมพ์แบบ Rotdry  Screen,  Roller  Screen,  Fldt  Bed Screen,  Digitdl  Printig,

     แม้ทุกกระบวนการในการผลิตเสื้อยืดคือสิ่งสำคัญ แต่การพิมพ์และการสกรีนลวดลายคือสิ่งสำคัญที่สุด เพราะมีความซับซ้อน มีหลากหลายประเภท

    

        จึงเป็นสิ่งที่คุณต้องรู้เพื่อสร้างความชำนาญ รวมถึงต้องสามารถบริหาร สามารถคำนวณต้นทุนการผลิตได้ไม่ขาดตกบกพร่อง ส่งผลให้กิจการเป็นไปได้อย่างราบรื่น  ไม่มีอุปสรรค โดยมีสิ่งที่คุณต้องเข้าใจในกระบวนการพิมพ์เสื้อยืดดังต่อไปนี้

 1. ความเป็นมาของซิลค์สกรีน ต้นแบบของกระบวนการพิมพ์และสกรีนเสื้อในปัจจุบัน

         ย้อนกลับไปในอดีตก่อนที่จะมีการพิมพ์สกรีน จะพบว่ามนุษย์เริ่มเรียนรู้วิธีการทำ ลายฉลุ  หรือ สเตนซิล (Stencil) ด้วยการตัดและเจาะวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ใบไม้ หรือหนังสัตว์ ให้เกิดเป็นรูปร่างแล้วนำมาพิมพ์ลงบนพื้นผิววัสดุต่างๆ

          วิวัฒนาการของการทำลายฉลุให้เกิดเป็นรูปต่างๆนั้น ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยในประเทศจีนยุคสมัยของราชวงศ์ซ่ง  (ช่วงปี ค.ศ.960-1279) ได้มีการพิมพ์ตัวอักษรและรูปภาพ โดยใช้กระดาษที่ฉลุด้วยการตัดหรือเจาะเป็นช่อง แล้วจึงใช้หมึกพ่นหรือปาดไปบนแม่พิมพ์ฉลุ

            ต่อมาการพิมพ์ลายฉลุได้แพร่หลายไปทั่วทวีปเอเชีย โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่น ได้พยามคิดค้นวิธีที่จะผูกโยงชิ้นส่วนของลายฉลุ ซึ่งถูกตัดขาด ให้เกิดเป็นชิ้นส่วนที่แยกออกจากกัน แต่สามารถยึดโยงเป็นแม่พิมพ์ชิ้นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในเวลาที่จะทำการพิมพ์เนื่องจากแม่พิมพ์ไม่ได้เป็นกระดาษชิ้นเดียวกัน เรียกว่า การพิมพ์ฉลุตะแกรงเส้นผม (Hdir Stencil Printing)

               ด้วยการนำเส้นผมของคนขนาดซึ่งมีเล็ก มีความเหนียว และทนต่อแรงดึงได้ดี มาถักเป็นตะแกรงเพื่อใช้เป็นโครงที่มีความแข็งแรงในการยึดโยง ที่สำคัญคือ น้ำหมึกสามารถทะลุผ่านได้

              จากนั้นจึงทำชิ้นส่วนของพิมพ์ลายฉลุ ด้วยวิธีการทำแม่พิมพ์ลายฉลุขึ้นมาสองชุดที่เหมือนกัน แล้วประกบเข้าด้วยกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสาน และมีตะแกงเส้นผมที่ถักขึ้นอยู่ระหว่างกลาง แล้วจึงทำการพ่นหรือปาดหมึกทับลงไปบนแม่พิมพ์ ซึ่งวิธีดังกล่าว นำไปสู่พื้นฐานของการพิมพ์ซิลสกรีนในที่สุด

              ในปี ค.ศ. 1907 จากแนวคิดดั้งเดิมในการพิมพ์ฉลุด้วยตะแกรงเส้นผมของชาวญี่ปุ่น แซมมัว ไซมอน ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นวิธีการพิมพ์โดยปราศจากการผูกโยง

              ด้วยการนำเส้นใยไหมซึ่งมีความละเอียด เหนียวและทนต่อแรงดึงมากกว่าเส้นผม นำมาทอเป็นตะแกรงไหม แล้วนำพิมพ์ลายฉลุวางแนบลงไปข้างใต้ ด้วยการทากาวเป็นตัวประสาน จากนั้นจึงวางทับลงไปบนวัสดุที่ต้องการจะพิมพ์ เมื่อใช้หมึกปาดลงไปบนตะแกรงไหม หมึกจะแทรกผ่านรูของตะแกรงไหมในพื้นที่ไม่ได้ทากาวลงบนผิวของวัตถุ

 

             กรรมวิธีดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นของคำว่า การพิมพ์ตะแกรงไหม หรือ Silksrceen  ซึ่งนายแซมมัว ได้จดสิทธิบัตรแนวความคิดนี้และได้ถูกนำมาใช้จวบจนปัจจุบัน โดยได้ถูกพัฒนาให้กลายมาเป็น  การพิมพ์สกรีน  ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

 2.สีและหมึกพิมพ์ที่ใช้พิมพ์ หรือสกรีนเสื้อยืด

              สีที่ใช้สกรีนนั้นมีมากมายหลายหลาก  ทั้งสีลอย สีจม สียาง สีพิเศษ แต่จริงๆแล้ว ตามหลักการสกรีนเสื้อที่ใช้สีสำหรับงานสกรีนลงบนเสื้อยืดหรือผ้า แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

               2.1  กลุ่มที่ใช้สีสกรีนประเภทนี้เชื้อน้ำ (Wdter Bdsed Screenlnk) สีสกรีนประเภทนี้จะอาศัยน้ำละลายเป็นตัวละลายเนื้อสี (Pigment) และแป้งพิมพ์  (Print Pdste) เข้ากันเป็นเนื้อเดียว

            โดยแป้งพิมพ์ที่เตรียมไว้สำหรับผสมกับสีสกรีนนั้น จะมีส่วนผสมของสารยึดเกาะ (Binder)  เพื่อช่วยในการยึดติดบนเส้นใยของเสื้อผ้า แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ตามคุณสมบัติของแป้งพิมพ์ที่นำมาใช้ผสมสีสำหรับสกรีนเสื้อ ดังนี้

             สีสกรีนเสื้อแบบสีจม  คุณสมบัติของสีสกรีนประเภทนี้ เนื้อสีจะมีความละเอียดสามารถซึมลงไปถึงเส้นใยผ้าและเนื้อสีจะมีความโปร่งใส

             เมื่อนำไปสกรีนลงบนเสื้อยืด ลวดลายสกรีนจะให้ผิวสัมผัสที่เรียบจนแทบเป็นเนื้อเดียวกับเสื้อ ด้วยเหตุที่เนื้อสีมีความโปร่งจึงนิยมนำไปใช้ในงานสกรีนบนเสื้อสีอ่อน

 

            สีสกรีนเสื้อแบบสีลอย   คุณสมบัติของสีลอยคือ เนื้อสีจะมีความละเอียด              น้อยกว่าสีจม ทำให้เนื้อสีเกาะติดอยู่บนเส้นใยของผ้า  เมื่อสกรีนลงบนเสื้อ ผิวสัมผัสจะให้ความรู้สึกถึงลวดลายที่มีความหนาขึ้นมาจากเนื้อผ้าเมื่อลองดึงหรือยืดลายสกรีน จะสังเกตเห็นถึงเนื้อสีที่แยกออกจากกันจับอยู่บนผิวของเนื้อผ้า

          เนื่องจากเนื้อสีของสีประเภทนี้จะมีความทึบแสง จึงเหมาะที่จะนำไปสกรีนลงบนสีที่เข้ม หรือนำไปสกรีนลองพื้นสีนขาวบนเสื้อสีเข้มแล้วจึงสกรีนทับด้วยสีจม แต่ข้อเสียของสีลอยคือแห้งเร็ว ซึ่งทำให้บล็อกสกรีนตันได้ง่าย หรือหมึกสกรีนอาจติดหลังบล็อกได้

            สีสกรีนเสื้อแบบสียาง   คุณสมบัติของสียางนั้น เนื้อสีจะมีความยืดหยุ่นสูงและมีความเงา ให้สีที่สด เมื่อสกรีนลงบนเนื้อผ้า เนื้อสีจะไปจับอยู่บนเส้นใยเช่นเดียวกับสีลอยโดยผิวสัมผัสจะมีชั้นความหนาบางของลายสกรีน

       เมื่อลองดึงเนื้อผ้าเพื่อยืดลายสกรีนออก เนื้อสีจะยืดออกตามเนื้อผ้าเสมือนมีความยืดหยุ่นเป็นเนื้อเดียวกัน และเนื่องด้วยสีมีความทึบแสง จึงสามารถสกรีนได้ทั้งบนเสื้อสีอ่อนและสีเข้มโดยไม่ต้องรองพื้นก่อน

           สีสกรีนเสื้อแบบสีนูน   ในหมึกพิมพ์จะผสมสารที่ทำให้เกิดการฟูขึ้นของเนื้อสี เมื่อนำไปอบด้วยความร้อนหลังจากสกรีน จะทำให้ลวดลายมีความหนานูนขึ้นมา โดยทั่วไปจะนำไปใช้ในงานสกรีนตัวอักษรหรือลายสกรีนที่ต้องการให้เกิดผิวสัมผัสมีความนูนเป็น 3 มิติ

Login

WELL FAST SERVE DESIGN นึกถึง เสื้อโปโล เสื้อโปโลสำเร็จรูป โรงงานผลิตเสื้อ BY POLOOFFICE.COM 

 

 

 

โรงงานผลิต เสื้อโปโล

www.polooffice.com เป็นโรงงานผลิต เสื้อโปโล เรามีเสื้อโปโล หลายแบบ หลายสไตล์ ให้กับลูกค้าได้เลือก ไม่ว่าจะเป็นเสื้อโปโลชาย เสื้อโปโลหญิง เสื้อรุ่น เสื้อโปโล ลูกค้าที่ผลิตเสื้อโปโล กับเรา เรามีทีมงาน ออกแบบเสื้อ โดยเฉพาะ เพื่อให้แบบเสื้อโปโล ของลูกค้าถูกใจลูกค้ามากที่สุด สนใจสั่งผลิตเสื้อโปโล กับ www.polooffice.com ติดต่อเรานะค่ะ

ติดต่อผลิตเสื้อโปโล

ลูกค้าสามารถติดต่อสั่งผลิตเสื้อโปโล แบบเสื้อโปโล จากโรงงานผลิต เสื้อโปโล ลูกค้าสามารถสั่งทำเสื้อได้ตามเบอร์นี้เลยนะค่ะ
สายด่วน : 087 687 5445 / 085 668 9991
Line : @anp168
E-mail : pmm1555@gmail.com
              bkkgm168@gmail.com

Facebook : www.facebook.com/polo4corner